ประมูลทรัพย์หลุดสาขาที่ให้บริการ | ข่าว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อ  
 
ตั๋วจำนำหาย | ทรัพย์รับจำนำหลุดเป็นสิทธิ์ของ กทม. | การจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำ | ส่งดอกเบี้ยแทน | เจ้าของตั๋วเสียชีวิต
  เรื่องน่ารู้
 
ใครจำนำได้บ้าง อะไรจำนำได้บ้าง จำนำที่ไหนได้บ้าง
บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน และไม่เป็นภิกษุ สามเณร ทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ คือ เป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ และไม่ต้องมีทะเบียน เช่น ทอง เพชร นาก เงิน นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง และของใช้เบ็ดเตล็ด ทุกชนิด ยกเว้นสิ่งของนั้นเป็นของราชการ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทั้ง 21 สาขา
เปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ 
เวลา 08.00 - 16.00 น.
โดยไม่หยุดพักกลางวัน
วิธีการคิดดอกเบี้ย ผ่อนเพิ่มตั๋ว อายุตั๋วรับจำนำ
การคิดดอกเบี้ยกรณีไม่เต็มเดือน
จำนำภายในระยะเวลา 15 วัน จะคิดดอกเบี้ยครึ่งเดือน ถ้าเกิน 15 วัน จะคิดดอกเบี้ย 1 เดือน(นับตั้งแต่วันที่ที่จำนำเป็นวันที่ 1)

"ผู้ที่มาส่งดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนคืน โปรดมาให้ตรงตามวันที่แจ้ง ในตั๋วจำนำ ในกรณีที่มาภายหลังวันที่กำหนดในตั๋วจำนำอาจเสีย ดอกเบี้ยเพืิ่มขึ้นอีก"
สามารถผ่อน-เพิ่มเงินต้นได้ โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันจำนำจนถึงวันที่มาขอทำการผ่อน-เพิ่ม (ผ่อน หรือ เพิ่ม + ดอกเบี้ย) ตั๋วรับจำนำมีอายุ 4 เดือน 30 วัน

กรณีตั๋วรับจำนำครบตรงกับวันหยุดทำการ
ถ้าตั๋วรับจำนำครบกำหนดวันที่ที่จะส่งดอกเบี้ย หรือ ไถ่ถอน ตรงกับวันเสาร์ - อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้มาในวันที่ที่เปิดทำการวันแรก โดยไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่ม

"ผู้จำนำทรัพย์โปรดไถ่ถอนหรือส่งดอกเบี้ยภายใน 4 เดือน 30 วัน นับจากวันรับจำนำหากเลยกำหนด ทรัพย์นั้นจะหลุดเป็นสิทธิ์ของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร"
     
  ตั๋วจำนำหาย
 
  ต้องปฏิบัติดังนี้:
เจ้าของตั๋วรับจำนำต้องมาแจ้งที่สถานธนานุบาล ทางสถานธนานุบาลจะออก ใบแจ้งตั๋วหายให้

นำใบแจ้งตั๋วหายที่สถานธนานุบาลออกให้ ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ ที่สถานธนานุบาลตั้งอยู่ โดยดำเนินการแจ้งความที่สถานีตำรวจให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่แจ้งให้สถานธนานุบาลทราบ

นำเอกสารมาติดต่อที่สถานธนานุบาลเพื่อส่งดอกเบี้ย หรือ ไถ่ถอน ต่อไป

ระยะจำนำ เท่ากับ ระยะเวลาของตั๋วเดิม(ตั๋วที่หาย)
 
     
     
  ทรัพย์รับจำนำหลุดเป็นสิทธิ์ของ กทม.
  (มีความประสงค์จะตามซื้อคืน) ให้ปฏิบัติดังนี้

กรณีมีตั๋วรับจำนำ และเป็นเจ้าของตั๋วรับจำนำ
นำตั๋วรับจำนำพร้อมบัตรประชาชนมาติดต่อที่สถานธนานุบาล เพื่อตามซื้อคืน ตามวัน และเวลาที่สถานธนานุบาลกำหนด

กรณีไม่มีตั๋วรับจำนำ แต่เป็นเจ้าของตั๋วรับจำนำ
ติดต่อที่สถานธนานุบาล เพื่อทางสถานธนานุบาลจะออกใบแจ้งตั๋วหาย และตรวจสอบ ลายพิมพ์นิ้วมือว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้จำนำหรือไม่ เพื่อทางสถานธนานุบาลจะได้ รับรองลายพิมพ์นิ้วมือ

นำใบแจ้งตั๋วหาย พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนมาติดต่อที่ สำนักงานสถานธนานุ บาลกรุงเทพมหานคร(สธก.) พบผู้อำนวยการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบและบันทึก ปากคำ(ปค.14)เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบว่าจะมาตามซื้อคืนได้เมื่อใด

กรณีมีตั๋วรับจำนำ และเป็นเจ้าของทรัพย์รับจำนำ
โดยให้ผู้อื่นมาจำนำแต่ไม่สามารถติดตามตัวผู้จำนำได้ ให้นำตั๋วรับจำนำพร้อมบัตร ประจำตัวประชาชนของผู้ที่จะมาทำการแทน ไปติดต่อที่สำนักงานสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร(สธก.) พบผู้อำนวยการ เพื่อตรวจสอบและบันทึกปากคำ(ปค.14) ซึ่งผู้อำนวยการจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตว่าจะให้ตามซื้อคืนหรือไม่
ถ้าผู้อำนวยการอนุญาตให้ตามซื้อคืนได้ ก็ให้นำเอกสารทั้งหมดกลับไปติดต่อ สถานธนานุบาลเพื่อตามซื้อคืนต่อไป

"ผู้จำนำจะต้องยื่นคำร้องการตามซื้อทรัพย์หลุดจำนำคืนต่อผู้จัดการสถานธนานุบาล ที่ผู้จำนำได้จำนำทรัพย์ไว้ ตั้งแต่วันที่ทรัพย์จำนำนั้นหลุดจำนำเป็นสิทธิ์ของ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่จำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำ"

"ผู้จำนำสามารถตามซื้อทรัพย์หลุดจำนำคืนได้ในราคารับจำนำ(เงินต้น) บวกร้อยละ 15 ของราคารับจำนำ"
 
     
     
  การจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำ
  สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครได้จัดให้มีการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำขึ้น ทุกเดือน โดยมีทรัพย์หลุดจำนำประเภทเพชร ทอง นาก เงิน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ จากสถานธนานุบาลทั้ง 21 สาขา

          ในการดำเนินการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำ คณะกรรมการจะประเมินราคาขายขั้นต่ำของทรัพย์ไว้ตามความเหมาะสม แล้วจึงนำออกมาจำหน่ายให้กับ ผู้สนใจทั่วไป โดยวิธีการประมูลด้วยวาจา กำหนดให้ราคาของการประมูลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยครั้งละ 10 บาท

โดยจะทำการประมูลในวันเสาร์หรืออาทิตย์ ตามประกาศสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จะเปิดการจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำประเภทเพชร ทอง นาก เงิน และเครื่องใช้ไฟฟ้า เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เริ่มเวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
 
     
     
  ส่งดอกเบี้ยแทน
  เจ้าของตั๋วรับจำนำต้องพิมพ์ลายนิ้วมือด้านหลังของตั๋วจำนำก่อน(ลายพิมพ์นิ้วมือ ต้องชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับลายพิมพ์นิ้วมือด้านหน้าของตั๋วจำนำ)

กรอกข้อความข้างหลังตั๋วรับจำนำให้เรียบร้อยครบถ้วน

นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้ที่จะมาทำการ พร้อมสำเนา มาด้วย(บัตรต้องไม่หมดอายุ)
 
     
     
  เจ้าของตั๋วเสียชีวิต
  ผู้ที่ดำเนินการแทนต้องเป็นผู้จัดการมรดก พร้อมมีคำสั่งศาล และต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาติดต่อที่สถานธนานุบาล เพื่อดำเนินการส่งดอกเบี้ย หรือ ไถ่ถอน

1. ตั๋วรับจำนำ
2. ใบมรณะบัตร พร้อมสำเนา
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย พร้อมสำเนา
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาแทน พร้อมสำเนา
5. คำสั่งศาล ในกรณีเป็นผู้จัดการมรดก
6. นำเอกสารข้อ 1 - 5 ไปแจ้งความที่ สน.ท้องที่ที่สถานธนานุบาลตั้งอยู่
7. นำเอกสารทั้งหมดไปกรมการปกครอง แผนกควบคุมโรงรับจำนำ เพื่อประทับตราอนุญาต
8. นำเอกสารทั้งหมดกลับมาติดต่อที่สถานธนานุบาล เพื่อทำการส่งดอกเบี้ย หรือ ไถ่ถอน ต่อไป

กรณีไม่มีคำสั่งศาล
ให้ทำเป็นหนังสือให้ทายาททุกคนเซ็นต์ยินยอม และนำไปแจ้งความ ลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจท้องที่ และไปประทับตราอนุญาต ที่แผนควบคุมโรงรับจำนำ
 
     
     
     
 
 
           ◎ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม                     ◎ อัตราดอกเบี้ย                        ◎ คณะกรรมการบริหาร                  ◎ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร 
           ◎ เรื่องน่ารู้                                       ◎ ผังองค์กร
|| สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ||
เลขที่ 8 ชั้น 3 อาคารโกลด์มาร์เก็ต ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร โทร: 02-1580042 - 44