|
วัตถุประสงค์
|
|
|
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นโดยได้รับนโยบายจากกระทรวงมหาดไทย เพื่อช่วยเหลือและสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ
|
|
|
|
|
|
เพื่อสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งพอมีทรัพย์สินอยู่บ้าง แต่มีความต้องการเงินไปบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยนำสิ่งของมาจำนำ และเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร คิดดอกเบี้ยรับจำนำ ในอัตราที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 กล่าวคือ |
|
|
|
|
|
ตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 กำหนดห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา ดังนี้
+ เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 2.00 ต่อเดือน
+ เงินต้นส่วนที่เกิน 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน |
|
|
|
|
|
เพื่อเป็นการป้องกันมิให้โรงรับจำนำเอกชนเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้มาจำนำ
โดยกดราคา หรือ เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา หรือเรียกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในราคาสูง |
|
|
|
|
|
เพื่อตรึงระดับการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา ให้ลดน้อยลงจากเดิม เพราะถ้าประชาชน ถูกโรงรับจำนำเอกชนกดราคา หรือเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูง ประชาชนก็จะพากันมาใช้บริการของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร |
|
|
|
|
|
เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสซื้อของในราคาถูก เนื่องจากทรัพย์ที่ประชาชน นำมาจำนำ หากไม่ส่งดอกเบี้ย เป็นเวลา 4 เดือน 30 วัน ติดต่อกัน จะตกเป็นสิทธิ์
ของสถานธนานุบาล เรียกว่า "ทรัพย์หลุดจำนำ" ทรัพย์หลุดจำนำเหล่านี้ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีจำหน่ายอย่างเปิดเผย โดยวิธีประมูลด้วยวาจา ก่อนที่จะทำการประมูลจำหน่ายทรัพย์หลุดจำนำทุกครั้ง จะต้องประกาศให้ประชาชน ทราบล่วงหน้า วิธีการจำหน่ายเช่นนี้ เพื่อประสงค์ให้ประชาชนได้มีโอกาสซื้อสิ่งของ เครื่องใช้ ในราคาถูก และเพื่อให้เจ้าของทรัพย์ ที่หลุดจำนำมีโอกาสได้ซื้อทรัพย์นั้น คืนได้ ในราคาอันสมควร ตามที่คณะกรรมการของกรุงเทพมหานคร ได้ประเมินราคาไว้ โดยไม่ต้องนำขึ้นประมูลสู้ราคากับพ่อค้า หรือ บุคคลอื่น |
|
|
|
|
|
การดำเนินกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่ามิได้มี วัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหากำไรอย่างการดำเนินธุรกิจการค้าทั่ว ๆ ไป แต่มี
วัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถแก้ปัญหาทางการเงิน ในระยะสั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ในอัตราสูงนัก ดังนั้น การกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการกำหนดไว้เพียงเพื่อพยุงฐานะ ตัวเองมิให้ประสบกับภาวะขาดทุนเท่านั้น และผลกำไรจากการดำเนินงานดังกล่าว นั้น ยังต้องจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายของ สธก. ตลอดจนจ่ายเป็นเงินอุดหนุนให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร และใช้จ่าย เพื่อการลงทุนขยาย สถานธนานุบาลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป |
|
|
|
|