|
การบริหารงาน
|
|
|
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร(ฉบับที่2) พ.ศ.2536 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2536 |
|
|
|
|
|
โดยมีคณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จำนวนไม่เกิน 9 คน ประกอบด้วย
บุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งไม่เกิน 8 คน เป็นประธาน รองประธาน และกรรมการและให้ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ
|
|
|
|
|
|
มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วางแผน และควบคุมการดำเนินงานของ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการออกระเบียบ กฎข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังนี้ |
|
|
|
|
|
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หมายความว่า สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร และสถานธนานุบาลที่กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้น
สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หมายความว่า สำนักงานบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า "สธก." รับผิดชอบเกี่ยวกับสถานธนานุบาลที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น |
|
|
|
|
|
โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน โดยคำแนะนำ หรือ ความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร |
|
|
|
|
|
และมี รองผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ช่วยปฏิบัติ งานในการดำเนินงานเกี่ยวกับสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้มี คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร และสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครแล้ว |
|
|
|
|
|
ประธานกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร มีอำนาจ แต่งตั้ง ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ได้จำนวนไม่เกิน 2 คน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร |
|
|
|
|